0
Your Cart

สรุปมอเตอร์แบบไหนดีกว่า !!  AC หรือ DC !?

มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่มีหลักการทำงานเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ซึ่งการตัดสินใจจะเลือก “มอเตอร์ของประตูโมท” มีหลายปัจจัยที่ต้องให้พิจารณา โดยมีปัจจัยที่สำคัญคือ การใช้งานอย่างต่อเนื่อง ความทนทาน การรับประกัน และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนั่นเอง ซึ่งเจ้าตัวมอเตอร์นั้นมีสองแบบให้ได้ตัดสินใจด้วยกันก็คือ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC และ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC 

ความแตกต่างของมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC และ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC 

  1. แหล่งพลังงาน

ความแตกต่างของมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC และ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC ที่ชัดเจนมากที่สุดคือ แหล่งพลังงานของมอเตอร์ไฟฟ้านั่นเอง มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC จะมีแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าจาก ไฟฟ้ากระแสสลับ และ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC จะมีแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าจาก ไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งส่งผลให้ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC มีความซับซ้อนภายในมากกว่า มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC เนื่องจากต้องคอยอาศัยอุปกรณ์ต่างในการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง จึงทำให้มีอุปกรณ์ภายในมากกว่า มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC

  1. โครงสร้าง

มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC นั้นจะมีโครงสร้างของอุปกรณ์โดยอาศัยหลักการทำงานของ Brushers หรือ แปรงถ่าน เพื่อการนำกระแสเข้าสู่ตัวแกนของมอเตอร์ เมื่อมีอายุการใช้งานที่มากขึ้นจะทำให้เกิดการสึกหรอได้ แต่ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC ไม่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งทำให้ตัวมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC นั้นจำเป็นต้องดูแลรักษามากกว่า และยังต้องคอยเปลี่ยนแปรงถ่านทุก 2-3 ปี อีกทั้งยังมีความซับซ้อนของวงจรหลักมากกว่า มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC อีกด้วย แน่นอนว่าเป็นการส่งผลต่อการซ่อมในระยะยาว

  1. ความเร็ว

ระบบการควบคุมความเร็วของมอเตอร์จะมีความแตกต่างกัน เนื่องจาก มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC ควบคุมความเร็วโดยระบบ Frequency (ระบบความถี่) แต่มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC จะควบคุมโดยใช้ระบบ Pulse (ระบบสัญญาณ) จึงทำให้การควบคุมสามารถควบคุมได้ง่ายกว่า ทั้งการเพิ่มความเร็ว และการชะลอความเร็วนั้นทำได้ดีกว่า เนื่องจากการตอบสนองของระบบ Pulse นั้นไวกว่า ระบบ Frequency ความนุ่มนวลของ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC จึงมีมากกว่า 

  1. ความเหมาะสม

เนื่องจากประตูแต่ละแบบนั้นมีขนาดและน้ำหนักไม่เท่ากัน ความเหมาะสมของขนาดและน้ำหนักของประตู จึงเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วย เช่น มอเตอร์ที่เหมาะกับ ประตูที่มีความกว้างไม่เกิน 8 เมตรหรือน้ำหนักไม่เกิน 2,000 kg. ควรเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC เพราะให้แรงบิดน้อยกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC จะเหมาะกับน้ำหนักประตูที่เบา-กลางเท่านั้น แต่ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC จะใช้ได้กับประตูทุกๆขนาด

  1. ความถี่ในการใช้งาน

ลักษณะการใช้งานสำหรับการเปิด-ปิดที่บ่อยครั้ง เช่นทางเข้าหลักหรือทางเข้าของโครงการหมู่บ้าน ที่ต้องมีการเปิด-ปิดบ่อยครั้ง จึงทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC ทำได้ดีกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC เพราะไม่เกิดความร้อนสะสมในขณะทำงาน ทำให้ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง การใช้งานตัวมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC อย่างต่อเนื่องนั้นทำให้เกิดความร้อนสะสมที่ขดลวดในมอเตอร์ เมื่อมีอุณหภูมิที่ร้อนมากจนถึงขีดจำกัดของจุดตัด มอเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้ต้องรอให้อุณหภูมินั้นต่ำลงจึงจะสามารถใช้งานต่อได้

  1. ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC จะมีการติดตั้งแบตเตอรี่สำรองไว้ภายในสินค้า ซึ่งทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก 1-2 ปีและถ้าหากมีน้ำหนักประตูที่มาก ก็จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ที่ใหญ่มากยิ่งขึ้น และปัญหาที่พบบ่อยคือ แบตเสื่อม และทำให้ไม่สามารถเปิดประตูได้

มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC และ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC มีความต่างกันไม่ว่าจะเป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน ความเร็ว ความนิ่มนวลของการทำงาน โครงสร้างของมอเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC นั้นจะมีความซับซ้อนกว่ามากทั้งในด้าน Hardware และ Software ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจ ที่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในด้านการใช้งานว่าความต้องและความต้องการของการใช้งานเป็นอย่างไร